ในหลายปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ เช่น การที่มีดอกไม้บานที่แอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระดับโลก (Global Temperature Shift) หรือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมในแคว้นบาเลนเซียที่สเปน เมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี 2024 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอุทกภัยที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ครั้งหนึ่งของสเปนเลยก็ว่าได้ และล่าสุด เหตุการณ์ไฟไหม้ที่ LA ที่ทำความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล และนับเป็นการเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ซึ่ง 1 ในปัจจัยหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change

Climate Change คืออะไร
Climate หรือ ภูมิอากาศ คือ สภาพอากาศปกติที่ปกคลุมโลกเรามาเป็นระยะเวลายาวนาน ในภาวะปกติ การที่สภาพภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยเวลาเป็นร้อยหรือพันปี เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป แต่ในช่วงหลายสิบปีมานี้ สภาพภูมิอากาศของโลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นพืชพันธุ์ต่างๆ สัตว์ทุกชนิดตั้งแต่ขนาดเล็กจิ๋ว ไปจนถึงขนาดใหญ่ สิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ บนโลกด้วย

สาเหตุของการเกิด Climate Change
การเกิด Climate Change สาเหตุ คือ มนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อการผลิตไฟฟ้า การใช้น้ำมันเพื่อการเดินทาง การผลิตสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกหรือใช้ในชีวิตประจำวัน การตัดไม้เพื่อนำไม้มาใช้ หรือต้องการพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม หรือสร้างเมือง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gas (GHG) ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อมีการผลิตสิ่งต่างๆ มากเกินพอดี บวกกับการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้เกิดการปล่อย GHG ในปริมาณมาก ในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ GHG ที่ลอยขึ้นไปอยู่บนชั้นบรรยากาศสลายตัวไม่ทัน โดยเฉพาะ GHG ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น พวกสารทำความเย็นต่างๆ เช่น Hydrofluorocarbons (HFCs) จะสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศอาจนานถึงพันปี

Climate Change มีอะไรบ้าง ?
สาเหตุของ Climate Change มีอะไรบ้าง
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อเราใช้ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในโรงไฟฟ้า โรงงาน หรือรถยนต์ จะเกิดการเผาไหม้และปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
- กิจกรรมทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะวัว จะปล่อยก๊าซมีเทน (CH₄) ซึ่งแรงกว่า CO₂ หลายสิบเท่า การใช้ปุ๋ยเคมีในดิน จะปล่อย ไนตรัสออกไซด์ (N₂O) ซึ่งก็เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อ Climate Change เช่นกัน
- โรงงานอุตสาหกรรมการใช้พลังงานผลิตสินค้าจำนวนมาก เช่น เหล็ก ซีเมนต์ พลาสติก ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา เช่น CO₂ และก๊าซฟลูออไรด์ (ใช้ในเครื่องทำความเย็น)
- การขนส่ง ยานพาหนะ รถยนต์ ที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล จะปล่อย CO₂ ออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะในมืองใหญ่ที่มีการจราจรติดขัด
- การตัดไม้ทำลายป่า ต้นไม้เป็นตัวช่วยดูดซับ CO₂ จากชั้นบรรยากาศ เมื่อถูกตัดจำนวนมาก ก็ทำให้มี CO₂ ลอยอยู่ในอากาศมากขึ้น
ผลกระทบของ Climate Change มีอะไรบ้าง
- อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ปีหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้ สถิติอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์อากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ทั่วโลก (รวมถึงประเทศไทยด้วย)
- น้ำทะเลสูงขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายเร็วกว่าปกติ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เสี่ยงทำให้ เกาะหรือพื้นที่ชายฝั่งบางแห่งน้ำท่วมและจมน้ำ
- ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น
- พายุมีความรุนแรงมากขึ้น
- ฝนตกหนักผิดฤดูกาล → น้ำท่วม
- ฝนไม่ตกตามฤดู → ภัยแล้ง
- เกิด ไฟป่า ง่ายขึ้นในพื้นที่แห้งแล้ง เช่น ออสเตรเลีย, แคลิฟอร์เนีย
- ผลกระทบต่อการเกษตร
- ฤดูกาลเพี้ยน → พืชผลปลูกยาก
- ความร้อนทำให้ดินแห้งและมีน้ำไม่เพียงพอ
- แมลงศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเพราะอากาศอุ่น
- สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์
- หมีขั้วโลกหาที่อยู่น้อยลงเพราะน้ำแข็งละลาย
- สัตว์ที่อยู่ในภูเขาหรือทะเลลึกอาจหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้
- สุขภาพมนุษย์แย่ลง
- คลื่นความร้อน (Heatwave) ทำให้เสียชีวิต
- โรคที่มากับน้ำท่วม เช่น ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู
- โรคระบบทางเดินหายใจจากฝุ่น PM2.5
- กระทบเศรษฐกิจโลก
- ฟาร์มเกษตรต้องรับความเสี่ยงมากขึ้น
- ภาคประกันภัยต้องจ่ายมากขึ้นจากภัยพิบัติ
- ค่าไฟและค่าน้ำเพิ่มขึ้นจากการใช้มากขึ้นในฤดูร้อน
วิธีรับมือ Climate Change มีอะไรบ้าง
- ลดการใช้พลังงานฟอสซิล
- ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ ขนส่งสาธารณะ
- ปิดไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้
- ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน
- ใช้พลังงานสะอาด
- ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
- ใช้พลังงานลม น้ำ หรือไบโอแมสในโรงงานและบ้านเรือน
- ปลูกต้นไม้
- ต้นไม้ช่วยดูดซับ CO₂
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ลดอุณหภูมิรอบ ๆ
- ลดขยะพลาสติก
- พกถุงผ้า พกขวดน้ำส่วนตัว
- รีไซเคิลพลาสติกให้มากที่สุด
- สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สินค้าออร์แกนิก
- บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้
- สินค้าที่ผลิตด้วยพลังงานสะอาด
ในสภาวะปกติ ปริมาณ GHG ในชั้นบรรยากาศที่สมดุล จะช่วยให้โลกมีความอบอุ่น รังสีความร้อนที่ส่งเข้ามายังโลกสามารถสะท้อนออกไปได้ และไม่ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป ทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ พืชพรรณเติบโตได้ดี ฤดูกาลเป็นไปตามรอบ ภัยพิบัติรุนแรงอาจเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่บ่อย และไม่หนักเหมือนในปัจจุบัน การที่ GHG สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณมากๆ ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ความร้อนไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ในปริมาณที่เหมาะสม ความร้อนบางส่วนได้สะท้อนกลับมายังโลก ทำให้เกิด Global Warming (ภาวะโลกร้อน) หรือ Global Boiling (ภาวะโลกเดือด) และ ในปี 2024 ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่อุณหภูมิผิวโลกแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียส (คิดจากอุณหภูมิบนพื้นผิวเฉลี่ยทั้งโลก)
บริษัท แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ผู้นำด้านการผลิตพลาสติกในประเทศไทย ที่แปรรูปเม็ดพลาสติกทั้งแบบทั่วไปและย่อยสลายได้ เป็นฟิล์มพลาสติก จากนั้นนำมาตัดและซีลเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เช่น ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ปลอกแขน และอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและการแพทย์ ด้วยคุณภาพที่ได้รับมาตรฐานสากล พร้อมประสบการณ์มากกว่า 28 ปี